8 สัญญาณเตือน ฮอร์โมนเพศชายต่ำ

8 สัญญาณเตือน ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศของเพศชาย ถูกสร้างจากอัณฑะ (Testis) โดยฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนทำหน้ากระตุ้นการสร้างตัวอสุจิ (Sperm) และกระตุ้นอารมณ์ทาง เพศ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูกอีกด้วย เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกายจะต่ำลง หากต่ำมากเกินไปก็จะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมักจะถูกเข้าใจผิดว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการธรรมดาของผู้สูงอายุ

ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะวินิจฉัยได้จากการตรวจระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเลือดที่ต่ำกว่า 300 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร (300 ng/dL) ซึ่งการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ชายนั้นเรียกว่าภาวะวัยทอง ซึ่งเปรียบได้กับภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิง แตกต่างกันที่ในเพศหญิงนั้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน จะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเพศ หรือเอสโทรเจนอย่างรวดเร็ว แต่การลดลงของฮอร์โมนเพศของเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนนั้นจะค่อย ๆ ลดลงทำให้ในชายอาจไม่มีอาการอะไร แต่หากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายลดลงเร็วกว่าที่ควรก็จะทำให้มีอาการต่าง ๆ ของภาวะเทสโทสเทอโรนต่ำแสดงออกมา

 

1. อารมณ์ทางเพศลดลง

ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนเพศ ที่คอยควบคุมเรื่องความต้องการทางเพศ เมื่ออายุมากขึ้นผู้ชายส่วนมากจะมีความต้องการทางเพศลดลงในระดับที่แตกต่างกัน โดยหากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำมากจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งมักสัมผัสได้จากตัวเองหรือคู่นอน นอกจากความต้องการที่ลดลงแล้ว ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ลดลงจะมีผลทำให้ผู้ชาย บรรลุจุดสุดยอดได้ยากขึ้นอีกด้วย

 

2. อวัยวะเพศแข็งตัวยาก

นอกจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะเป็นตัวควบคุมความต้องการทางเพศแล้วนั้น ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนยังมีผลในเรื่องการแข็งตัวเพศชายด้วย โดยที่ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนนั้นจะไปมีผลกับสมอง กระตุ้นให้สมองสั่งให้ร่างกายสร้างสารไนตริกออกไซด์ (สารเคมีในร่างกายที่ช่วยทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว)  ซึ่งหากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลง ก็จะมีผลทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศเป็นไปได้ยากมากขึ้น นอกจากนี้โรคที่ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหลาย ๆ โรคนั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน เส้นเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis)

 

3. น้ำเลี้ยงตัวอสุจิ (Semens) ลดลง

น้ำเลี้ยงตัวอสุจิทำหน้าที่ช่วยให้ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น โดยที่น้ำเลี้ยงอสุจินี้ จะหลั่งออกมาพร้อมกับตัวอสุจิเมื่อเพศชายบรรลุจุดสุดยอด ซึ่งฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของน้ำเลี้ยงอสุจิด้วย หากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลงก็จะทำให้น้ำเลี้ยงอสุจิลดลงไปด้วย ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่มีน้ำอสุจิหลั่งออกมาเมื่อบรรลุจุดสุดยอดลดลง

 

4. ผมร่วง

นอกจากเรื่องของเพศแล้ว ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนยังควบคุมการทำงานอีกหลายอย่างในร่างกายรวมไปถึงการ สร้างผมและขน ถึงแม้ว่าหัวล้านนั้นสามารถพบได้ในชายทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่ถ้าระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงมากก็จะมีอาการของผมและขนตามที่ต่าง ๆ ร่วงมากกว่าปกติได้

 

5. รู้สึกอ่อนเพลีย

ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเท่าไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ผู้ชายที่มีปัญหาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะขาดแรงจูงใจ กระตุ้นให้ไปออกกำลังกายได้ยากอีกด้วย

 

6. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ผู้ชายฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงจะทำให้กล้ามของเค้าลดขนาดและกำลังลงโดย เฉพาะกล้ามเนื้อแขน ขา หน้าอก และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กลับมาเท่าเดิมนั้น ก็เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ การเพิ่มขึ้นของไขมันส่วนเกิน ไม่เพียงแต่กล้ามเนื้อที่ลดลงในผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงแล้ว การสะสมของไขมันส่วนเกิน ตามที่ต่าง ๆ ในร่างกาย ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของชายเหล่านั้นดูแย่มากขึ้น โดยปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกระบวนการเพิ่มขึ้นของไขมันส่วนเกินในชายที่ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงได้อย่างชัดเจน แต่มีผู้วิจัยพบว่ายีนที่ควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายนั้นมีส่วนในการลดลงของ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกาย

 

7. กระดูกบาง

ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน มีผลในการสร้างความหนาแน่นหรือความแข็งแรงของกระดูก ภาวะกระดูกบางซึ่งหากเป็นมาก ๆ ก็จะถูกเรียกว่าโรคกระดูกพรุน โรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยที่ฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิงมีผลต่อความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูก แต่เนื่องจากผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนซึ่งแตกต่างจากเพศชายทำให้พบภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในเพศหญิงมาก แต่เพศชายเมื่ออายุมากขึ้นมาก ๆ และมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงนาน ๆ ก็มีภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 

8. อารมณ์แปรปรวน

ทั้งชายและหญิงจะประสบปัญหาอารมณ์แปรปรวนได้ทั้งคู่ จากการลดลงของฮอร์โมนเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายนั้นเปรียบเสมือนถังน้ำมันที่คอยช่วย เป็นแหล่งพลังงานในการกระตุ้นกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงด้านอารมณ์ ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลง จะทำให้ชายเหล่านี้มีปัญหาซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิได้

 

แหล่งที่มา : https://www.healthline.com/health/low-testosterone/warning-signs#erections
ภาพประกอบจาก :  https://www.andromenopause.com

เกร็กคู เป็นยาสมุนไพรแผนโบราณ เลขทะเบียนที่: G 481/53

ปริมาณสุทธิ: แผงละ 6 แคปซูลๆ ละ 600 มิลลิกรัม
(บรรจุผงยา 500 มิลลิกรัม)

ผู้ผลิต: บริษัท บัวทอง เอ็กซ์ซิบิชั่น จำกัด